หน้าแรก -->

พริกขี้หนู


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens  Linn.
พริกขี้หนู :  Capsicum frutescens
ชื่อสามัญ : Bird  Chilli
ชื่อท้องถิ่นของแต่ละภาค
ภาษาเหนือ         พริกน้ำเมี่ยง
ภาษาใต้              ดีปลีขี้นก
ภาษาอีสาน         หมักเพ็ด
ภาษามาตรฐาน   พริกขี้หนู
สรรพคุณ
  • ใช้ใบหรือดอก ถูบริเวณถูกมดคันไฟกัด
  • รักษาแผลสดหรือแผลเปื่อย
  • ช่วยขับลม  แก้อาหารไม่ย่อยและเจริญอาหาร
  • ช่วยทำให้อารมณ์แจ่มใส โดยสาร Capsaicin ที่มีอยู่ในพริกขี้หนูจะช่วยส่งสัญญาณให้ต่อมใต้สมองสร้างสาร Endorphin ซึ่งออกฤทธิ์คล้ายกับมอร์ฟีน คือ ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และทำให้อารมณ์แจ่มใส (ผล)
  • ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะเนื่องมาจากไข้หวัดหรือตัวร้อน ด้วยการใช้ใบพริกขี้หนูสด ๆ นำมาตำผสมกับดินสอพอง แล้วนำมาใช้ปิดบริเวณขมับ (ใบ)
  • ตำรายาไทยจะใช้ผลซึ่งมีรสเผ็ดร้อนเป็นยาแก้ไข้หวัด ลดน้ำมูก บรรเทาอาการไอ ช่วยขับเสมหะ ทำให้การหายใจสะดวกสบายยิ่งขึ้น (ผล) ส่วนใบมีสรรพคุณช่วยแก้หวัด 
ลักษณะของพริกขี้หนู

ต้นพริกขี้หนู มีถิ่นกำเนิดในแถบอเมริกาเขตร้อน โดยจัดเป็นไม้ล้มลุกหรือไม้พุ่มขนาดเล็ก ที่มีความสูงของต้นประมาณ 30-90 เซนติเมตร มีอายุประมาณ 1-3 ปี แตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วนระบายน้ำดี ในที่ร่มรำไรหรือกลางแจ้ง ไม่ทนต่อสภาพน้ำขัง มักขึ้นร่วมกับวัชพืชชนิดอื่น ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค



ขอบคุณข้อมูลและสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
https://medthai.com/พริกขี้หนู/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น