หน้าแรก -->

ต้นประดู่

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterocarpus indicus Willd. 
วงศ์ถั่ว : (FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE) 
ชื่ออื่น ๆ : ดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย ประดู่กิ่งอ่อน อังสนา (ภาคกลาง), สะโน (มาเลย์-นราธิวาส), ดู่, ประดู่ป่า, ประดู่ไทย เป็นต้น
ประโยชน์
- เปลือกต้นมีรสฝาดจัด มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงร่างกาย (เปลือกต้น)
- แก่นเนื้อไม้ประดู่ มีรสขมฝาดร้อน มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต  บำรุงกำลัง บำรุงธาตุในร่างกาย (แก่น)
- แก่นเนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ แก้พิษไข้ (แก่น)ส่วนรากใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้พิษไข้ (ราก)
- แก่นเนื้อไม้ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้เสมหะ (แก่น)
- ใช้เป็นยาแก้โรคบิด (เปลือกต้น)
- แก่นมีสรรพคุณเป็นยาขับยาเสมหะ (แก่น)
- ใบอ่อนนำมาตำให้ละเอียด ใช้เป็นยาพอกแผล พอกฝี จะช่วยทำให้ฝีสุกหรือแห้งเร็ว (ใบอ่อน)
- ใบอ่อนใช้ตำพอกแก้ผดผื่นคัน (ใบอ่อน)ส่วนแก่นก็มีสรรพคุณเป็นยาแก้ผื่นคันเช่นกัน (แก่น)
- ยางไม้ประดู่มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “Gum Kino” สามารถนำมาใช้เป็นยาแก้โรคท้องเสียได้ (ยางไม้)
- แก่นเนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้โรคคุดทะราด ด้วยการนำแก่นไม้มาต้มกับน้ำกิน (แก่น)

- เปลือกต้นมีรสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาสมานบาดแผล (เปลือกต้น)

     

ขอบคุณข้อมูลและสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น