ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Solanum torvum Sw.*
![]() |
วงศ์: SOLANACEAE
ชื่อท้องถิ่นของแต่ละภาค
มะเขือละคร (นครราชสีมา)
มะแว้งช้าง (สงขลา)
มะแคว้งกุลา (ภาคเหนือ)
หมากแข้ง (ภาคอีสาน)
เขือน้อย เขือพวง เขือเทศ ลูกแว้ง (ภาคใต้)
สรรพคุณ
- ใบ ผลและต้น ทำให้เลือดหมุนเวียนแก้ปวด ฟกช้ำบวม อักเสบ
- ราก ใช้พอกแก้เท้าแตกเป็นร่อง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
- ประโยชน์ของมะเขือพวงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยลดความเครียดออกซิเดชันในผู้ป่วยเบาหวาน
- ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ง่วงนอน
- ใช้เป็นยาระงับประสาท (ใบสด)
- ช่วยบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย
ลักษณะของต้นมะเขือพวง
มะเขือพวงเป็นไม้พุ่มเตี้ย สูง 1 - 2 เมตร ลำต้นตั้งตรงและแข็งแรง ลำต้นมีขนนุ่มขึ้นปกคลุม ลำต้นและใบมีหนามเล็ก ๆ ห่างขึ้นทั่วไป แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลมริมใบหยักเว้าต้น ใบยาว 4 - 8 นิ้ว ดอกออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกออกเป็นกระจุกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีเกสรตัวผู้และตัวเมียติดอยู่กับหลอดของกลีบดอก ผลรูปร่างกลม ผิวเรียบ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม.ผลอ่อนสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองส้ม ภายในมีเมล็ดเล็ก ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น